หลังจากที่ พืชกระท่อม หรือ ใบกระท่อม ได้ถูกปลดล็อกออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษและเริ่มมีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่จะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย
ทำให้ประชาชนสามารถปลูก ขาย และใช้พืชกระท่อมได้อย่างเสรีในลักษณะของสมุนไพร แต่ห้ามนำไปผสมกับยาเสพติดชนิดอื่น อาทิ สารเสพติดชนิด 4 คูณ 100 รวมถึงห้ามจำหน่ายให้กับเยาวชน
เคล็ดลับดีๆ สำหรับคุณ
ทำความรู้จักกับ พืชกระท่อม ให้ดีก่อน
กระท่อม (Kratom) หรือ Mitragyna speciosa (Korth.) HaviL. เป็นพืชไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ Rubiaceae ถูกนำมาใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านมานานหลายร้อยปีแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นพืชที่พบมากทางใต้ของไทยไปจนถึงเขตชายแดน นิยมเคี้ยวใบสด หรือ ต้มเป็นชา เพื่อกระตุ้นให้ทำงานได้โดยไม่เมื่อยล้าในประเทศไทยมีการนำมาใช้เป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และปวดมวนท้อง ชาวมลายูจะใช้ใบกระท่อมตำพอกแผล และใช้ทั้งใบเผาให้ร้อนวางบนท้องรักษาโรคม้ามโต ตลอดจนใช้กระท่อมเพื่อทดแทนฝิ่นในพื้นที่ที่ไม่มีฝิ่น
ในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ แตงกวา (ก้านเขียว) ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) และก้านแดง แหล่งที่พบกระท่อมในไทยมากที่สุดจะมีเพียงบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
ประโยชน์ของใบกระท่อมที่มีผลต่อสุขภาพ
ที่ผ่านมาได้มีงานวิจัยพบว่าในใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกายมีผลต่อเซลล์ประสาทบางชนิดในร่างกายในการรับรู้ความเจ็บปวดถูกนำมาใช้รักษาอาการเหล่านี้
- ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น อาการปวดที่ไม่พึงประสงค์เป็นผลจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง อาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน และโรคข้ออักเสบ เป็นต้น
- ช่วยรักษาอาการไอ
- ช่วยลดการหลั่งกรด
- ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
- ใบกระท่อมช่วยให้มีสมาธิและระงับประสาท
- แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ปวดเบ่ง แก้บิด
- แก้ปวดฟัน
- ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท
- แก้ปวดเมื่อยร่างกาย
- ช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย
- ใช้ใบกระท่อมเพื่อระงับอาการกล้ามเนื้อกระตุก
- เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ
- นำไปใช้บรรเทาอาการปวดแทนมอร์ฟีน โดยมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า และมีข้อดีกว่ามอร์ฟีนอยู่หลาย ประการ เช่น กระท่อมไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ใช้บำบัดอาการติดฝิ่นหรือมอร์ฟีนได้
- ใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติด
โทษของใบกระท่อม หากใช้เกินขนาด
– ความอยากอาหารลดลง หรือน้ำหนักลด
– ท้องผูก
– ทำให้ปัสสาวะบ่อย
– รู้สึกปากแห้ง
– เกิดอาการวิตกกังวล และกระวนกระวายใจ
– มีเหงื่อออก และคันตามร่างกาย
– ทำให้แพ้แดดได้ง่าย หรือผิวหนังมีสีเข้มกว่าเม็ดสีปกติ
– มีอาการคลื่นไส้ และอาเจียน
– ทำให้นอนไม่หลับ หรือร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา
– หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
– รู้สึกกระวนกระวาย สับสน มึนงง
– เห็นภาพหลอน และมีอาการคลุ้มคลั่งได้
ข้อควรระวังและบุคคลที่ควรหลีกเลี่ยงในการใช้ใบกระท่อม
– สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
– ผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดสุรา
– ผู้มีความผิดปกติทางจิต
– ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
– กินกระท่อมร่วมกับชุมเห็ดช่วยแก้ท้องผูก หากมีอาการมึนเมา วิงเวียน ซึม จากการกินกระท่อมมากเกิน ให้ดื่มน้ำหรือกินของเปรี้ยว แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
ก่อนหน้านี้พืชกระท่อม หรือ ใบกระท่อม นั้นเป็นหนึ่งในยาเสพติด ไม่ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ แต่ทว่าสรรพคุณบางอย่างของกระท่อมก็มีประโยชน์ในการรักษาโรค ดังนั้นเมื่อมีการปลดล็อคออกจากการเป็นสารเสพติด คนที่ต้องการจะใช้ควรศึกษาทั้งประโยชน์และโทษของพืชกระท่อมนี้ให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นในภายหลัง
หากต้องการมีสุขภาพที่ดีอย่างถาวร ควรหันมาใส่ใจเรื่องของการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลสุขภาพจิตของตัวเองให้ดีจะดีกว่า อย่างทำให้ตัวเองตกอยู่ในความเครียดหากิจกรรมสนุกๆ ทำในเวลาว่าง อย่างเช่น sbobet mobile ซึ่งมีเกมสนุกๆ ที่ทำเงินได้จริงให้เลือกเล่นมากมาย สนใจสมัครได้ที่ สมัคร sbobet โดยตรง